สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
(พ.ศ. 2557 -2560)
- สรุปผลการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ และการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2560
1.1 สรุปสถานการณ์การพัฒนา การตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ
ตามที่เทศบาลตำบลคลองพนพัฒนา ได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2556 -2560 ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2556 - 2558) (พ.ศ. 2557 - 2559) (พ.ศ. 2558 - 2560) (พ.ศ. 2559 – 2561) อันมีลักษณะเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแผนที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงานโครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะเวลาสามปีโดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี โดยเทศบาลได้ใช้แผนพัฒนาสามปีเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การจ่ายขาดเงินสะสม เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการที่ขอให้หน่วยงานอื่นมาดำเนินการให้ รวมทั้งวางแนวทางเพื่อให้มีการปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาสามปี
ทั้งนี้เทศบาลได้ดำเนินการตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวตามแผนพัฒนาซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
ปี 2557 |
|
โครงการ (เป้าหมาย) |
ผลการดำเนินงาน |
|
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การบริหารและบริการสาธารณสุขทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม 3. ยุทธศาสตร์พัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้ 4. ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพของสังคมและความเข้มแข็งของชุมชน 5. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา/ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นและนันทนาการ 6. ยุทธศาสตร์พัฒนาการเมืองการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล 7. ยุทธศาสตร์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว |
34 9
3 12 22
45 - |
33 7
2 11 22
39 - |
รวมทั้งสิ้น |
125 |
114 |
คิดเป็นร้อยละของยุทธศาสตร์การพัฒนา |
|
91.2 |
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
ปี 2558 |
|
โครงการ (เป้าหมาย) |
ผลการดำเนินงาน |
|
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การบริหารและบริการสาธารณสุขทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม 3. ยุทธศาสตร์พัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้ 4. ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพของสังคมและความเข้มแข็งของชุมชน 5. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา/ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นและนันทนาการ 6. ยุทธศาสตร์พัฒนาการเมืองการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล 7. ยุทธศาสตร์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว |
25 21
3 15 22
33 3 |
9 15
3 14 18
31 1 |
รวมทั้งสิ้น |
122 |
91 |
คิดเป็นร้อยละของยุทธศาสตร์การพัฒนา |
|
74.5 |
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
ปี 2559 |
|
โครงการ (เป้าหมาย) |
ผลการดำเนินงาน |
|
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ยุทธศาสตร์การบริหารและบริการสาธารณสุขทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม 3. ยุทธศาสตร์พัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้ 4. ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพของสังคมและความเข้มแข็งของชุมชน 5. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา/ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นและนันทนาการ 6. ยุทธศาสตร์พัฒนาการเมืองการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล 7. ยุทธศาสตร์พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว |
29 22
2 15 32
31 - |
25 12
1 13 22
26 - |
รวมทั้งสิ้น |
131 |
99 |
คิดเป็นร้อยละของยุทธศาสตร์การพัฒนา |
|
75.5 |
ผลการดำเนินงาน (ตารางเปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2557 กับ 2558)
|
||||||||
การดำเนินงาน |
แผนพัฒนา สามปี 2557 |
แผนการ ดำเนินงาน 2557 |
เทศบัญญัติ 2557 |
ดำเนินการ ได้จริง |
แผนพัฒนา สามปี 2558 |
แผนการ ดำเนินงาน 2558 |
เทศบัญญัติ 2558 |
ดำเนินการ ได้จริง |
จำนวน โครงการ |
125 |
125 |
93 |
101 |
122 |
122 |
73 |
73 |
ร้อยละ |
100 |
100 |
74.4 |
92.00 |
|
100 |
100 |
100 |
ผลการดำเนินงาน (ตารางเปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2558 กับ 2559) |
||||||||
การดำเนินงาน |
แผนพัฒนา สามปี 2558 |
แผนการ ดำเนินงาน 2558 |
เทศบัญญัติ 2558 |
ดำเนินการ ได้จริง |
แผนพัฒนา สามปี 2559 |
แผนการ ดำเนินงาน 2559 |
เทศบัญญัติ 2559 |
ดำเนินการ ได้จริง |
จำนวน โครงการ |
122 |
122 |
73 |
73 |
131 |
131 |
58 |
58 |
ร้อยละ |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
ผลการดำเนินงาน (ตารางเปรียบเทียบ ปีงบประมาณ 2558 กับ 2559)
|
||||||||
การดำเนินงาน |
แผนพัฒนา สามปี 2558 |
แผนการ ดำเนินงาน 2558 |
เทศบัญญัติ 2558 |
ดำเนินการ ได้จริง |
แผนพัฒนา สามปี 2560 |
แผนการ ดำเนินงาน 2560 |
เทศบัญญัติ 2560 |
ดำเนินการ ได้จริง |
จำนวน โครงการ |
131 |
131 |
58 |
58 |
254 |
130 |
130 |
|
ร้อยละ |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
100 |
|
1.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและคุณภาพ
ตามที่เทศบาลได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเทศบาลให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนานั้นจะต้องมีการติดตามและประเมินแผนพัฒนา ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 หมวด 6 ข้อ 29 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (ฉบับที่2) พ.ศ. 2559 ข้อ 13 โดยคณะกรรมการติดตามและประเมินแผนพัฒนาเป็นผู้ดำเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ดำเนินการติดตามแลประเมินผลแผนพัฒนา รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตาม และประเมินผลแผนพัฒนาต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติ และคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมทั้งประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบในที่เปิดเผยภายในสิบห้าวันนับแต่วันรายงานผล และเสนอความเห็นดังกล่าวและต้องปิดประกาศไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยอย่างน้อยปีละสองครั้งภายในเดือนเมษายนและเดือนตุลาคมของทุกปี
ซึ่งแผนพัฒนาของเทศบาลสามารถนำไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ดังนี้
- เชิงปริมาณ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2556 – 2560)
โครงการที่บรรจุในแผนพัฒนา จำนวน 125 โครงการ
สามารถดำเนินการได้ จำนวน 93 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 74.4
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2556 – 2560)
โครงการที่บรรจุในแผนพัฒนา จำนวน 122 โครงการ
สามารถดำเนินการได้ จำนวน 73 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 59.8
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2556 – 2560)
โครงการที่บรรจุในแผนพัฒนา จำนวน 131 โครงการ
สามารถดำเนินการได้ จำนวน 88 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 67.1
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2556 – 2560)
โครงการที่บรรจุในแผนพัฒนา จำนวน 125 โครงการ
สามารถดำเนินการได้ จำนวน 93 โครงการ
คิดเป็นร้อยละ 74.4
- เชิงคุณภาพ
เทศบาลได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดต่อประชาชนโดยได้มีการประเมินความพึงพอใจ ซึ่งการประเมินความพึงพอใจทำให้ทราบถึงผลเชิงคุณภาพในการดำเนินงานของเทศบาลในภาพรวม ซึ่งเทศบาลได้สรุปความพึงพอใจสรุปได้ดังนี้
ปีงบประมาณ 2557 - 2560
การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อผลการดเนินงานโครงการ/กิจกรรม ของเทศบาลตำบลคลองพนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาพรวมตามยุทธศาสตร์และประเด็นการพัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557- 2560 พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.3 ผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560
ผลที่ได้รับหรือผลที่สำคัญ
ตามที่เทศบาลได้ดำเนินงานต่างๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560 เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน และพัฒนาองค์กรให้เกิดความมั่นคงในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ของประชาชน ดีขึ้น ซึ่งผลจากการดำเนินงานของเทศบาลนั้น ผลที่ได้รับมีดังนี้
- ประชาชนมีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือน
- ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
- ประชาชนมีถนนใช้ในการสัญจรไปมาได้สะดวก
- เด็กเล็กได้รับการดูแลด้านการศึกษา
- ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพทุกคน
- ประชาชนได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณภัย
- ปัญหาไข้เลือดออกลดลง
- ขยะในชุมชนมีวิธีจัดการที่ถูกต้อง
- ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุข
- ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัย
- ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของเทศบาล
- วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ของท้องถิ่นได้รับการสนับสนุน
สำหรับในปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ผลที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้น มีดังนี้
- ประชาชนมีถนนที่มีคุณภาพสำหรับการสัญจรไปมา
- ประชาชนมีระบบประปาใช้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพมากขึ้น
- ประชาชนได้รับการดูแลด้านสุขภาพและสวัสดิการมากขึ้น
- ประชาชนมีอาชีพเสริมรายได้มากขึ้น
- การกำจัดขยะโดยชุมชนมีการขยายพื้นที่ในการดำเนินการ
- ผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลมากขึ้น
- ศูนย์พัฒนาเด็กได้รับการพัฒนา
ผลกระทบ
ในการดำเนินงานของเทศบาลปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560 สามารถดำเนินการได้ตามที่ประชาชนต้องการเฉลี่ย 3 ปี ร้อยละ 84.3 ซึ่งการดำเนินงานนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อประชาชนในเขตเทศบาล ดังนี้
- การบุกเบิกถนนลูกรังภายในเขตเทศบาลมีมากขึ้น ทำให้การซ่อมบำรุงไม่ทั่วถึง เกิดปัญหาถนนชำรุด น้ำท่วมขัง
- จำนวนผู้ใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นทำให้ระบบประปาหมู่บ้านไม่สามรถให้บริการได้อย่างทั่วถึง
- จำนวนผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่หน่วยบริการด้านการสาธารณสุขมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอแก่ความต้องการ
สรุปปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการแก้ไข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560
ปัญหา
- เครื่องมือ เครื่องใช้ เทคโนโลยีในการทำงานไม่เพียงพอ และไม่ทันสมัย
- หมู่บ้าน ชุมชนในเขตเทศบาล ยังมีปัญหาที่ต้องการ การแก้ไขอีจำนวนมาก
- ประชาชนยังมีความต้องการด้านต่างๆอีกจำนวนมาก
- ประชาชนยังไม่เข้าใจขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ที่สามารถดำเนินการได้
- เทศบาลมีพื้นที่และประชากรจำนวนมาก ไม่สามารถดูได้อย่างทั่วถึง
แนวทางแก้ไข
- จัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ และเทคโนโลยีในการทำงานให้เพียงพอ และทันสมัย
- ปรับปรุงระบบการพัฒนาให้ประชาชนเข้ามาส่วนร่วมในทุกระดับ
- ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเทศบาลให้ประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้อง
- ส่งเสริมให้หมู่บ้านชุมชนสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง